เมนู

[1397] ดูก่อนอานนท์ สติปัฏฐาน 4 อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้
กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมยังโพชฌงค์ 7 ให้บริบูรณ์.
[1398] ดูก่อนอานนท์ ก็โพชฌงค์ 7 อันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร
การทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ ภิกษุในธรรม
วินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในการสละ ย่อมเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์... วิริยสัมโพชฌงค์...
ปีติสัมโพชฌงค์... ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์... สมาธิสัมโพชฌงค์... อุเบกขา-
สัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
ดูก่อนอานนท์ โพชฌงค์ 7 อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ กระทำให้มากแล้ว
อย่างนี้ ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์.
จบปฐมอานันทสูตรที่ 3

อรรถกถาปฐมอานันทสูตร



ปฐมอานันทสูตรที่ 3.

คำว่า ย่อมค้นคว้า คือ ย่อมเลือกเฟ้น
ด้วยอำนาจแห่งความไม่เที่ยงเป็นต้น. อีก 2 บทนอกนี้ เป็นคำใช้แทน
คำว่า ย่อมค้นคว้า นี้เอง. คำว่า อันหาอามิสมิได้ คือไม่มีกิเลส ได้แก่
ทั้งกายทั้งจิต ย่อมสงบระงับ. ด้วยความสงบระงับความกระวนกระวายทางกาย
และทางใจ. คำว่า ย่อมตั้งมั่น ได้แก่ ถูกตั้งไว้โดยชอบ คือ เป็นเหมือน
อัปปนาจิต. คำว่า ย่อมเป็นผู้วางเฉยอย่างยิ่ง คือย่อมเป็นผู้วางเฉยอย่าง
ยิ่ง ด้วยความวางเฉยอย่างยิ่งคือธรรมที่เกิดร่วมด้วย.
สติในกายนั้น ของภิกษุผู้กำหนดกายด้วยวิธี 14 อย่าง ดังที่ว่ามานี้
ชื่อว่า สติสัมโพชฌงค์ ณาณที่ประกอบกับสตินั้น เป็นธัมมวิจยสัมโพชฌงค์

ความเพียรที่เป็นไปในทางกาย และทางจิตที่ประกอบกับธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
นั่นแหละ เป็นวิริยสัมโพชฌงค์ ปีติ ปัสสัทธิ และจิตเตกัคคตา เป็นปีติ
สัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ และสมาธิสัมโพชฌงค์ อาการที่เป็นกลางๆ
คือไม่หย่อนไม่ตึงเกินไปของโพชฌงค์ทั้ง 6 นี้ เป็นอุเบกขาสัมโพชฌงค์.
เหมือนอย่างว่า เมื่อพวกม้า วิ่งไปสม่ำเสมอ การทิ่มแทงว่า ตัวนี้ชักช้า
หรือการรั้งว่า ตัวนี้วิ่งเร็วเกินไป ย่อมไม่มีแก่สารถี มีเพียงอาการตั้งอยู่ของม้า
ที่วิ่งอยู่อย่างนั้นอย่างเดียว ฉันใดเทียว อาการที่เป็นกลาง ๆ คือไม่หย่อนไม่
ตึงเกินไป ของโพชฌงค์ทั้ง 6 นี้ ก็ชื่อว่าเป็นอุเบกขาสัมโพชฌงค์ฉันนั้นแล.
ด้วยถ้อยคำเท่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสอะไรไว้ ได้ตรัสชื่อว่า วิปัสสนา
โพชฌงค์พร้อมทั้งลักษณะ ที่ประกอบด้วยขณะจิตเดียวไว้แล้ว.
คำเป็นต้น ว่า อันอาศัยวิเวก มีใจความที่กล่าวไว้เสร็จแล้ว. ถามว่า
ก็ในสูตรนี้ ทรงแสดงสติกำหนดลมหายใจออกและหายใจเข้า สิบหกครั้ง เป็น
แบบเจือกันไปอย่างไร. ตอบว่า การตั้งสติ (สติปัฏฐาน) ที่มีลมหายใจออกและ
หายใจเข้าเป็นมูล เป็นส่วนเบื้องต้น ความระลึกถึงลมหายใจออกและหายใจเข้า
ซึ่งเป็นมูล เป็นส่วนเบื้องต้นของการตั้งสติเหล่านั้น การตั้งสติที่ยังโพชฌงค์
ให้บริบูรณ์ ก็เป็นส่วนเบื้องต้น แม้โพชฌงค์เหล่านั้น ก็เป็นส่วนเบื้องต้น แต่
โพชฌงค์ที่ทำให้ความรู้แจ้ง และความหลุดพ้นบริบูรณ์ เป็นโลกุตระที่ให้เกิด
ขึ้นแล้ว ความรู้แจ้งและความหลุดพ้น เป็นสิ่งที่ประกอบกับอริยผล หรือความ
รู้แจ้ง เป็นสิ่งที่ประกอบกับมรรคที่ 4 ความหลุดพ้นเป็นสิ่งที่ประกอบกับผล
ด้วยประการฉะนี้.
จบอรรถกถาปฐมอานันทสูตรที่ 3

5. ทุติยอานันทสูตร



ว่าด้วยปัญหาของพระอานนท์



[1399] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึง
ที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสถามท่านพระอานนท์ว่า ดูก่อนอานนท์
ธรรมอย่างหนึ่งอันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังธรรม 4 ข้อให้
บริบูรณ์ ธรรม 4 ข้ออันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังธรรม
7 ข้อให้บริบูรณ์ ธรรม 7 ข้ออันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อม
ยังธรรม 2 ข้อให้สมบูรณ์ มีอยู่หรือหนอ. ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเจ้า
เป็นรากฐาน ฯลฯ
พ. ดูก่อนอานนท์ ธรรมอย่างหนึ่ง . อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้
มากแล้ว ย่อมยังธรรม 4 ข้อให้บริบูรณ์ ... ธรรม 7 ข้ออันภิกษุเจริญแล้ว
กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังธรรม 2 ข้อให้บริบูรณ์ มีอยู่..
[1400] ดูก่อนอานนท์ ก็ธรรมอย่างหนึ่ง อันภิกษุเจริญแล้ว
กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังธรรม 4 ข้อให้บริบูรณ์ ธรรม 4 ข้อ . . . ธรรม
7 ข้ออันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังธรรม 2 ข้อให้บริบูรณ์
เป็นไฉน ดูก่อนอานนท์ ธรรมอย่างหนึ่ง คือ สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานา-
ปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสติปัฏฐาน 4 ให้
บริบูรณ์ สติปัฏฐาน 4 อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยัง